สรุป เนื้อหาสาระที่ 1 "สาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม" ตอนที่ 2

สาระที่ 1 "สาระศาสนา  ศีลธรรม  และจริยธรรม" ตอนที่ 2   
พระพุทธศาสนา
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
          1. ประเภทศาสนา : แบบ อเทวนิยม ไม่นับถือพระเจ้า เน้นเชื่อในเรื่องกรรมของตนเอง
          2. พระเจ้า : ไม่มี
          3. ศาสดา : พระสมณโคดมพุทธเจ้า หรือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า
          4. คัมภีร์ : พระไตรปิฎก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปิฎก (3 หมวด) คือ
                   1) พระวินัยปิฎก เกี่ยวกับ ระเบียบวินัย ศีล สิกขาบท ของพระภิกษุสามเณร (พระภิกษุถือศีล 227 ข้อ สามเณรถือศีล 10 ข้อ)
                   2) พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) เกี่ยวกับ เทศนาธรรมของพระพุทธเจ้าโดยมีเรื่องราว มีคน มีสถานที่ *ไม่ใช่หลักธรรมล้วนๆ *
                   3) พระอภิธรรมปิฎก เกี่ยวกับ หลักธรรมล้วน ๆ ไม่มีเรื่องราว ไม่มีคน ไม่มีสถานที่
          5. นิกาย : มี 2 นิกายสำคัญ


นิกายในศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาท (หินยาน)
นิกายอาจาริยวาท (มหายาน)
1. เคร่งครัดในพระวินัยและสิกขาบทต่าง ๆ ไม่แก้ไขพระวินัยข้อใดเลย
2. รักษาและถ่ายทอดพระไตรปิฎกดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด ไม่ตัดต่อแต่งเติมพระไตรปิฎก แต่อย่างใด
3. นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์แต่เพียงแค่องค์เดียว (คือ พระสมณโคดมพุทธเจ้า)
4. เน้นปฏิบัติธรรมช่วยเหลือตนเองให้พ้นทุกข์ ก่อนช่วยเหลือคนอื่น
5. แพร่หลายในประเทศ ไทย      ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา
6. พิเศษเฉพาะนิกายเถรวาทในไทย จะมีแบ่งย่อยเถรวาทในไทยออกเป็นอีก 2 นิกายย่อย (แต่ล้วนเป็นเถรวาททั้งคู่) คือ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย

1. มีการแก้ไขพระวินัยและสิกขาบท บางข้อ เช่น  ฉันอาหารเย็นได้ , ใส่จีวรหลากหลายรูปแบบ หลากหลายสีสัน (บางนิกายย่อย พระมีเมีย มีลูกได้)
2. มีการแก้ไข ตัดต่อแต่งเติมพระไตรปิฎก โดยเฉพาะจะเน้นนับถือพระสูตรมาก และจะนิยมสวดมนต์สาธยายพระสูตร
3. นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์ เน้นสวดมนต์อ้อนวอนขอพรจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เหล่านั้น เช่น พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ (กวนอิม) และพระศรีอาริยเมตไตรยมหาโพธิสัตว์ เป็นต้น
4. เน้นปฏิบัติธรรมช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์ก่อนตนเอง (เน้นบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์)
5. แพร่หลายในประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ภูฏาน ธิเบต

หลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา 
หลักธรรม
ความหมาย
1. อริยสัจ 4
: ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ * หัวใจแห่งพระพุทธศาสนา *
          1) ทุกข์ : ผล : คือสภาวะทนได้ยาก ทุกข์ทรมาน ไม่สบายกายไม่สบายใจ
          2) สมุทัย : เหตุ : คือเหตุแห่งทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) นั่นเอง
          3) นิโรธ : ผล : คือสภาวะดับทุกข์ หมดทุกข์ หรือ นิพพาน นั่นเอง
          4) มรรค : เหตุ : คือเหตุแห่งดับทุกข์ หรือ วิธีดับทุกข์
** อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการยกย่องว่า เป็นศาสนาที่มีเหตุมีผลมากที่สุด **
2. ขันธ์ 5
: องค์ประกอบแห่งชีวิตมนุษย์ 5 ประการ คือ
          1) รูป (รูปธรรม) คือ รูปร่างร่างกายของมนุษย์อันประกอบไปด้วยธาตุ 4 คือ ดิน (เนื้อหนังมังสา กระดูกของร่างกายเรา) น้ำ (เลือด น้ำหนอง น้ำลาย ในร่างกาย) ลม (แก๊สในร่างกาย ในกระเพาะอาหาร) ไฟ (อุณหภูมิความร้อนของร่างกาย)
          2) เวทนา (นามธรรม) คือ ความรู้สึก มี 3 ประเภท คือ 1.รู้สึกสุข 2.รู้สึกทุกข์ 3.รู้สึกเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
          3) สัญญา (นามธรรม) คือ ความจำได้หมายรู้ กำหนดรู้สิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่หลงลืม
          4) สังขาร (นามธรรม) คือ ความคิด ที่จะปรุงแต่งจิตให้กระทำสิ่งต่าง ๆ
          5) วิญญาณ (นามธรรม) คือ อารมณ์การรับรู้ของจิต ผ่านทางช่องทางการรับรู้ทั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ภูตผีปีศาจใดใดทั้งสิ้น
3. ไตรสิกขาหรืออริยมรรค 8 ประการ
: การฝึกฝนอบรมตนเอง 3 ขั้น ซึ่งจะตรงกับอริยมรรค 8 ประการดังนี้
          1) ศีลสิกขา : การอบรมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เป็นปรกติ ได้แก่
                   - สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ทำแต่ความดี ทำแต่สิ่งที่สุจริต
                   - สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ พูดชอบ พูดแต่สิ่งดี ๆ
                   - สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพสุจริต
          2) สมาธิสิกขาหรือจิตสิกขา : การอบรมจิต ให้สงบเรียบร้อย เป็นปรกติ ได้แก่
                   - สัมมาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นชอบ จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน
                   - สัมมาสติ คือ ระลึกรู้ตัวชอบ ไม่หลงใหล
                   - สัมมาวายามะ คือ เพียรระวังตนชอบ ไม่ให้ทำความชั่วและ   หมั่นรักษาความดีให้ดียิ่งขึ้น
          3) ปัญญาสิกขา : การอบรมปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้ง ได้แก่
                   - สัมมาสังกัปปะ คือ คิดชอบ คิดแต่สิ่งดีสุจริต
                   - สัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นชอบ มีความคิดเห็นถูกต้องตาม ทำนองคลองธรรมตามหลักศาสนา พุทธ เช่น เชื่อในอริยสัจ 4 เชื่อในกฎแห่งกรรม ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด
** ไตรสิกขาพัฒนามาจากอริยมรรค ๘ ถือเป็นหลักธรรมเรื่องเดียวกัน **
4. ไตรลักษณ์ (สามัญญลักษณ์)
: ลักษณะสามัญของสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต จะเป็นไปตาม กฎ 3 ประการนี้ คือ
          1) อนิจจัง : สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยงแท้ไม่แน่นอน ล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลง
          2) ทุกขัง : สรรพสิ่งล้วนทนได้ยาก เป็นทุกข์ทรมาน
          3) อนัตตา : สรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน เราควบคุมมันไม่ได้
** อนัตตาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพุทธศาสนา และตรงข้ามกับอาตมัน (อัตตา)  ของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูมากที่สุด **
5. โอวาทปาฏิโมกข์
: หลักธรรมสำคัญอีกประการหนึ่งในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงเทศนา ในวันมาฆบูชา (วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
          1) ทำแต่ความดี
          2) ละเว้นความชั่ว
          3) ทำจิตให้บริสุทธ์ผ่องใส
6. พรหมวิหาร 4
: ธรรมสำหรับผู้เป็นพรหม หรือผู้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นที่พึ่งพิงของผู้อื่น
          1) เมตตา : ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
          2) กรุณา : ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
          3) มุทิตา : ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข
          4) อุเบกขา : วางเฉยเสีย ไม่ยินดียินร้าย
7. กรรมนิยาม 12
: กฎแห่งกรรมหรือแห่งการกระทำ ซึ่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา จะต้องเป็นการ กระทำที่ประกอบด้วย เจตนาเท่านั้น การกระทำใดไม่มีเจตนาไม่จัดว่าเป็นกรรม เป็นแต่เพียง กริยา เท่านั้น คือเป็นแค่การเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่มีผลทางจริยธรรม กรรมในทางพระพุทธศาสนา แบ่งตามเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมนั้น แบ่งได้เป็น 3 หมวด 12 ประเภท ดังนี้
7.1 ปากกาลกรรม : กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา มี 4 ประเภท คือ
          7.1.1 ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลทันทีทันใด หรือให้ผลในชาตินี้
          7.1.2 อุปัชชเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลในกาลข้างหน้า หรือให้ผลในชาติหน้า
          7.1.3 อปราปรเวทนียกรรม : กรรมที่ให้ผลในระยะเวลานานข้างหน้า หรือให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
          7.1.4 อโหสิกรรม : กรรมที่ยกเลิก ไม่มีผลอีก หรือให้ผลเสร็จแล้ว
7.2 กิจกรรม : กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ที่ให้ผล มี 4 ประเภท คือ
          7.2.1 ชนกกรรม : กรรมที่ชักนำให้ไปเกิดใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากจากภพนี้
          7.2.2 อุปัตถัมภกกรรม : กรรมที่เข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
          7.2.3 อุปปีฬกกรรม : กรรมที่เข้ามาบรรเทาหรือหันเหทิศทาง ทำให้ไม่ดีเต็มที่หรือไม่ให้เลวเต็มที่
          7.2.4 อุปฆาตกกรรม : กรรมตัดรอน ที่มีกำลังแรงเข้าไปตัดรอนการให้ผลของกรรมอื่น ๆ และให้ผลชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ
7.3 ปากทานปริยายกรรม : กรรมที่ให้ผลตามลำดับความรุนแรง มี 4 ประเภท คือ
          7.3.1 ครุกรรม : กรรมหนัก จะให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ
          7.3.2 พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม : กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนเคยชิน ถ้าไม่มีชนกกรรม กรรมชนิดนี้จะให้ผลก่อน
          7.3.3 อาสันนกรรม : กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย ถ้าไม่มีกรรมสองข้อแรก กรรมชนิดนี้จะให้ผลก่อน
          7.3.4 กตัตตากรรม : กรรมอ่อน ๆ หรือกรรมสักแต่ว่าทำ กรรมชนิดนี้จะให้ผลก็ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นแล้ว
8. เป้าหมายชีวิตสูงสุดของพระพุทธศาสนา
คือ พระนิพพาน (สภาวะดับทุกข์ ดับกิเลส)

ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
          1. พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คือมีหลักธรรมคำสั่งสอนที่เป็นความจริง เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ถูกต้อง เป็นจริง พิสูจน์และเชื่อถือได้
          2.มีหลักปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง ไม่เคร่งครัดจนเกินไปและไม่ย่อหย่อนจนเกินไป
          3. เน้นฝึกฝนตนเองไม่ให้ประมาท
          4. เน้นสอนว่าปัญหาต่าง ๆ ล้วนมีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอย ๆ
          5. เน้นสอนให้มนุษย์แก้ปัญหาด้วยตนเอง
          6. มุ่งแสวงหาประโยชน์สุขแก่ตนเอง แก่สังคม และแก่โลก
          7. เน้นให้มนุษย์ฝึกฝนตนเองเพื่อมุ่งสู่อิสรภาพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุป เนื้อหาสาระที่ 1 "สาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม" ตอนที่ 1

สรุป เนื้อหาสาระที่ 1 "สาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม" ตอนที่ 3